22 มีนาคม 2556 @ SEMINAR DESIGN RESEARCH ครั้งที่ 5/7 คุณนิวัติ โพธิ์แท่น หัวข้อ “การบริหารงานสำนักงานขนาดเล็ก การบริหารจัดการโครงการทั้งในและต่างประเทศ”

สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้เป็นครั้งที่ 5 แล้ว ที่ทางอาจารย์วิว กับอาจารย์แบงค์ มีการเชิญวิทยากรมาบรรยายให้พวกเราฟัง รวมทั้งยังให้พวกเราได้เรียนรู้การจัดการสัมมนาด้วย ซึ่งครั้งที่ 6 วันที่ 29 มี.ค.56 กลุ่มผมก็เป็นฝ่ายการจัดการแล้วด้วยครับ สำหรับครั้งนี้ ผมอยากให้เพื่อนๆ ผู้อ่านได้รับเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ ว่าพวกเราได้รับความรู้อะไรบ้าง จึงตั้งใจว่าจะนำเอาการบ้านที่ต้องส่งอาจารย์มาแบ่งปันในทุกบทความเลย

ซึ่งผมเองก็ขออนุญาตว่า อาจจะใส่แบบเต็มๆ หรือตัดวางบางเนื้อหา เพื่อความเหมาะสม รวมทั้งจะวางโปสเตอร์ของแต่ละงานเอาไว้ใต้บทความด้วยครับ ครั้งนี้เราได้รับฟังบรรยายจาก คุณนิวัติ โพธิ์แท่น หัวข้อ “การบริหารงานสำนักงานขนาดเล็ก การบริหารจัดการโครงการทั้งในและต่างประเทศ” ครับ


ปิดไฟบรรยาย เพราะเนื้อหามีภาพงานดีไซน์ สวยมากๆ


ฟังกันอย่างตั้งใจทุกคนครับ


น้องๆ มอบดอกไม้เป็นที่ระลึกครับ




ถ่ายภาพร่วมกับทุกคน


ขอถ่ายภาพกับอาจารย์แบงค์ (ซ้าย) และกับคุณนิรัติ (ขวา) ด้วยครับ

แล้วผมก็ไม่พลาดที่จะขอถ่ายภาพกับ อ.แบงค์ และคุณนิรัติ ไว้เป็นที่ระลึกครับ จากนี้ไปก็เป็นเนื้อนะครับ


สรุปการฟังบรรยาย Seminar 5 การบริหารงานสำนักงานขนาดเล็ก การบริหารจัดการโครงการทั้งในและต่างประเทศ” ห้อง 984
วิทยากร: คุณนิรัติ โพธิแท่น เมื่อ 22 มีนาคม 2556 เวลา 18.00-21.00 น.

เนื้อหาสาระที่คุณนิรัติ โพธิแท่น บรรยาย

ในช่วงต้นคุณนิรัติ ได้เล่าถึงความเป็นมาของตนเองที่ทำให้ได้มีโอกาสด้านการศึกษา จนถึงความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษ ในที่สุดเปิดบริษัทเมื่อปี 2005 โดยต้องเริ่มต้นทุกอย่างทั้งการจดทะเบียน การหาสถานที่ (ที่แรกคือ ที่บ้าน) และเริ่มจากตัวเอง กับพนักงาน 5 คน / หลักการทำงานส่วนตัวของคุณนิรัติ ที่สำคัญ การทำลิสต์ (option list) เมื่อเจอปัญหา แล้วตัดลิสต์ที่ไม่ใช่ หรือยากๆ ออกไปก่อน ก็จะทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น / Learn from Experience เป็นอีกคำที่คุณนิรัติ ย้ำว่าไม่ควรผิดพลาดในครั้งที่ 3 / อีกคำคือ Thai-lish ที่มาจากการใช้ภาษาอังกฤษสไตล์ส่วนตัว

หลักการของการบริหารสำนักงานของคุณนิรัติ
1.      การหาสถานที่ ที่สะดวกกับพนักงาน จึงเปิดใน RCA
2.      Project Management คือ ต้องเริ่มจากการบริหารคนในองค์กรก่อน
3.      ต้องมองงานแบบมีเป้าหมาย คือ ไม่มองไกลเกินไป มองงานใกล้ไว้ก่อน ไม่มอง negative เกินไป เมื่อถึงเป้าหมายต้องให้รางวัลกับความสำเร็จเล็กๆ บ้าง
4.      Commitment คือ เมื่อรับปากลูกค้า ต้องทำให้ได้ ตามที่ตกลง / รวมถึงการบริหารเวลา ที่จะไม่มาสาย โดยเฉพาะกับการนัดหมายลูกค้าในระดับ Top ตัวอย่างเช่น การ present งาน ถึงงานไม่พร้อม ตัวก็ต้องเข้าไปก่อน แสดงถึง ความ perfectionism
5.      ควรมีจุดเด่นขององค์กร คือ ต้องมีความแตกต่างจากคู่แข่ง
6.      3 สิ่งสำคัญที่จะทำให้การบริหารระยะยาวสำเร็จ Marketing, Finance, Operation
6.1  Marketing คือ ไม่ได้หาลูกค้าโดยตรง/ Price คือ ราคาต้องประเมินจากหลายปัจจัย โดยเน้นไม่คิดค่า Fee มากเกินไป แต่ก็ไม่ได้ลดราคาเกินไป ให้ยุติธรรมทั้งสองฝ่าย เน้นพออยู่ได้ อาศัยวิธี Passion on practice/ Promotion คือ เน้นการลดราคาตามความต้องการและเราก็อยู่ได้
6.2  Finance คือ ต้องหาทุน ผู้ร่วมทุน / ต้องมีความเข้าใจเรื่องภาษี / ต้องควรรู้เรื่องรายจ่ายต่างๆ
6.3  Operation คือ งานทุกอย่างในบริษัท / การบริหารงานอาจไม่ต้องคำนึงถึงเวลามากเกินไป ควรให้พนักงาน enjoy กับการทำงาน
7.      ต้องให้ความสำคัญกับ Scope of Work และ Scope of Service ที่ต้องมีรายละเอียดให้เข้าใจตรงกับลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น เงิน deposit (เงินมัดจำ) ซึ่งบางแห่งก็ไม่ให้ แต่ต้องเป็นงานใหญ่จึงจะยอม
8.      การบริหารจัดการ “ผู้รับเหมา” ที่เราต้องจัดการให้ดี
9.      ลงทุนด้านซอฟต์แวร์ ด้านไอที มากเพื่อให้ทุกอย่างถูกต้อง
มุมมองที่มีต่ออาชีพสถาปนิก เป็นงานที่ขายความคิด ขายแรง ไม่ได้ต้องลงทุนกับตัวสินค้า อุปกรณ์อื่นๆ ของธุรกิจอื่นๆ
คุณนิรัติ เล่าประสบการณ์ที่รับงานลูกค้าชาวต่างประเทศ ที่ภูเก็ตเมื่อ 5 ปีก่อน ดูแลงานอยู่ 8 เดือน ที่ทำงานด้วยไม่ง่าย ต้องคุยภาษาอังกฤษรู้เรื่อง ต้องไปภูเก็ตสัปดาห์ละ 2 วัน / Case นี้ คุณนิรัติ เน้นเรื่องสัญญาว่า ไม่สามารถ Full time on site / คุณนิรัติ ยังแนะนำการดูลูกค้า ว่าไม่ยาก ดูจากการส่งค่า Fee ก็รู้แล้ว/ ต้องเคลียร์เรื่องจุกจิกให้ครบ เช่น ค่าเดินทางไปดูงาน เป็นต้น
กับงาน Collaborate Work หรือให้เข้าใจง่ายๆ คือ Sub-contractor ที่ต้องมืออาชีพกับระดับนานาชาติ (international) ที่เริ่มจากการ visit สำนักงาน ซึ่งทางต่างประเทศ (HBA) ก็ให้ข้อมูลทั้งหมดมาให้ เช่น CAD file ทำให้ยกระดับการทำงานของบริษัท และคุณนิรัติ ได้เล่าประสบการณ์ต่างๆ กับต่างประเทศ เช่น กับสิงค์โปร์ กับจีน เป็นต้น
ข้อคิดในตอนท้าย คือ การเปิดสำนักงานต้องทุ่มเท ไม่มีวันหยุด ต้องจัดการทุกอย่าง ตัวเองต้อง commitment กับตัวเองอย่างตั้งใจ ตามล่าความฝัน และที่สำคัญ คือต้องมีความสุข

สิ่งที่เห็นด้วย หรือความคิด หรือคิดว่าเข้าใจ กับที่คุณนิรัติได้บรรยาย

ในช่วงแรกของการบรรยาย มีคำถามอยู่หลายส่วน เรื่องหนึ่งคือ คุณนิรัติ เปิดบริษัทเอง เนื่องจากสาเหตุอะไร และพยายามเชื่อมโยงกับวิทยากรหลายๆ ท่านที่เคยมาบรรยาย ผมจำได้ถึงตอนที่คุณประภากร วทานยกุล กรรมการผู้จัดการของ A49 ที่ได้กล่าวถึงโครงสร้างขององค์กรบริษัทในเครือของ A49 จึงคิดไปถึงว่า คุณนิรัติ เป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างนี้ แต่เนื่องจากพอฟังไปถึงช่วงกลางๆ จึงคิดต่อว่าน่าจะไม่ใช่ เนื่องจากรับออเดอร์ตรงจากทางสิงค์โปร์แทน

เกี่ยวกับการคิดค่าบริการทางวิชาชีพ (Fee) นั้น ผมคิดตามตลอดที่คุณนิรัติได้พูดว่า การคิดค่าบริการนั้นไม่ตายตัว ขึ้นกับหลายปัจจัยประกอบกันตามความเหมาะสม ตามสถานการณ์ ตามการประเมินลูกค้านั้น ผมเห็นด้วย กับแนวคิดนี้ ผมมองว่าคุณนิรัติ เป็นนักบริหารอย่างแท้จริง ที่คำนึงถึงความเป็นอยู่องค์การ นอกเหนือจากคำว่าวิชาชีพ เป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารต้องตัดสินใจอย่างนี้ ส่วนด้านของตัวเงินนั้นว่าควรมีมูลค่าเท่าไหร่ ผมพอจะจินตนาการออก เพราะว่า ค่อนข้างมีลักษณะคล้ายกับงานของผมที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เมื่อเวลาจะคิดค่าบริการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์กับลูกค้านั้นว่า 300,000 บาท หรือ 2 ล้านบาท ขึ้นกับหลายปัจจัย โดยเฉพาะสถานะของลูกค้า เขามีเงินพอไหม เราอยากทำหรือไม่ ทำไมต้องคิดราคาลดพิเศษ และทำไมต้องชาร์จราคาให้สูง อีกมุมหนึ่งผมถือว่าเป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง บางทีอาจเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลเสียด้วยซ้ำ ว่าจะพิจารณาอย่างไร

ระหว่างที่พักเบรก ได้มีโอกาสคุยกับคุณนิรัติ เนื่องจากถูกถามว่าเคยทำธุรกิจอะไร จึงได้เล่าให้คุณนิรัติฟัง อีกทั้งยังเข้าใจดีว่า การบริหารสำนักงานขนาดเล็ก ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ ที่สุดของการบริหาร คือการบริหารคนในองค์กรนั่นเอง ส่วนตัวคิดว่ายากกว่าการหาออเดอร์จากลูกค้าเสียอีก ซึ่งตลอดเวลาที่ฟังการบรรยายจากคุณนิรัติ นั้นก็น่าจะมีทิศทางเดียวกัน เพราะสังเกตเห็นว่า คุณนิรัติ ได้กล่าวถึงปัญหาของบุคลากรในองค์กร ที่หลากหลายปัญหา แต่ก็ต้องหยวนๆ หรือลดหย่อนกันไป เช่นการมาสาย แต่คนๆ นั้นมีความสามารถสูงมาก เป็นต้น

ตลอดการบรรยาย คุณนิรัติ มีสไลด์ผลงานมาให้ดูตลอดแทบทุกช่วงที่บรรยาย ทำให้ทราบว่า คุณนิรัติ ให้ความสำคัญกับการ presentation ผลงานมากๆ และทำให้เข้าใจอย่างดีถึงการออกแบบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่พวกเราได้เรียน มีการนำเสนอผลงาน การบรรยายสไลด์ หน้าชั้นเรียน แทบทุกวิชา

สิ่งที่ได้รับจากการบรรยายของคุณนิรัติ ที่ผมชอบ หรือ/ และจะนำไปปรับใช้
·       กับประสบการณ์ในการบริหารงานสำนักงานของคุณนิรัติ ทำให้ส่วนตัว ยังคงยึดมั่นกับแนวทางที่จะไม่มีสำนักงาน และมีพนักงาน เนื่องจากตัวเองไม่ต้องการบริหารงานแบบมี fix cost และต้องไปบริหารจัดการคนในองค์กร เนื่องจากผมเคยเปิดบริษัทที่มีพนักงานถึง 40 คนมาแล้ว จึงพบปัญหามากมาย แต่ก็มีข้อสังเกตที่ต่างจากสำนักงานของคุณนิรัติ ที่ของผมเป็นงานระดับ implementation ไม่ใช่ Engineering หรือ Architecture
·       สำหรับงานด้านการออกแบบดีไซน์ ตลอดเกือบ 1 ปีที่เรียนปี 1 ยังไม่ถึงกับชอบเลย หมายถึงหากต้องจบไปแล้วทำงานด้านนี้จะอาจจะไม่ชอบ ในใจยังอยากทำงานที่มีลักษณะการ prove แบบที่ให้ความสำคัญด้าน Universal Design มากกว่าครับ
·       ตอนช่วงต้นที่คุณนิรัติ จะบรรยาย ได้สอบถามพวกเราว่า อยากให้ช่วยแนะนำตัวเอง พร้อมกับการแจ้งว่าเรียนจบสาขาไหนมาก่อนในระดับปริญญาตรี จึงคิดว่าจะทำระบบการลงทะเบียนออนไลน์ เมื่อถึงกลุ่มตัวเองที่ได้ดูแลการจัดการสัมมนา (Facilitator) ในครั้งต่อจากนี้ในวันที่ 29 มีนาคม 2556
·       ในตอนท้ายที่คุณนิรัติ ได้แซวทีม Facilitator ว่าจัดงานดูเป็นทางการนั้น ก็จะนำมาปรับปรุงกับการจัดการสัมมนาของกลุ่มตัวเอง ให้ดูสบายๆ ขึ้นกับวิทยากรครับ

ผู้เรียบเรียง: นายปรีดา ลิ้มนนทกุล 31-03-56



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Follow me on Twitter
Visit me on Facebook